ประวัติ
ชื่อ พระอาจารย์ ศรศิริ ติสรโน
อายุ 39 ปี บวชมา 19 พรรษา
ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัด สันติวัน
คติประจำใจของพระอาจารย์
มีปัญญาอย่างท้อแท้ มีทางแก้เสมอ
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเกิดปัญหา
เกราะ 5 ชั้นและคุณธรรม 4 ประการ
ศีลมีกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ ศีลเป็นเกราะอัศจรรย์
ศีล 5 คื่อ ป็นปกติของมนุษย์
1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ล่วงไป
2. อทินาทานา เวรมณี เว้นขโมยเล็กขโมยน้อย
3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นสิ่งที่เราประมาท
ทำไมต้องรักษาศีล ?
ศีลข้อ ๑ เพราะ ใครๆ ก็รักชีวิตตัวเอง
ศีลข้อ ๒ เพราะ ใครๆก็อยู่เป็นสุขได้ด้วยสมบัติของเขา
ศีลข้อ ๓ เพราะ ใครๆ ก็รักพี่น้องพวกพ้องของเขา
ศีลข้อ ๔ เพราะ ใครๆ ก็รักความจริงใจด้วยกันทั้งนั้น
ศีลข้อ ๕ เพราะว่าเมื่อดื่มเข้าไปแล้ว จะทำลายสติของเรา
เมื่อสติของเราเสียหายไปแล้ว ศีลข้ออื่นๆ ก็พร้อม
ที่จะขาดไปหมด
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๑
“ เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ”
๑) ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒) ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓) วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า
๔) อุปกฺกโม ทำความพยายามฆ่า
๕) เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๒
“เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ”
๑) ปรปริคฺคหิตํ ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒) ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
๓) เถยฺยจิตฺตํ มีจิตคิดจะลัก
๔) อุปกฺกโม ทำความพยายามลัก
๕) เตน หรณํ นำของมาได้ด้วยความพยายามนั้น
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๓
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๓
“ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ”
๑) อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรล่วงละเมิด
๒) ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ มีจิตคิดจะเสพ
๓) เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ
๔) มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ กระทำการให้มรรคต่อมรรคจดกัน
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๔
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๔
“ เว้นจากการพูดเท็จ ”
๑) อตถํ เรื่องไม่จริง
๒) วสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
๓) ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไปตามจิตนั้น
๔) ปรสฺส ตตฺถวิชานนํ ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๕
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๕
“ เว้นจากการดื่มน้ำเมา ”
๑) มทนียํ สิ่งที่เป็นเหตุให้มึนเมา (คือมีเหล้าเบียร์)
๒) ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตคิดจะดื่มหรือเสพ
๓) ตชฺโช วายาโม พยายามดื่มหรือเสพตามที่จิตคิดนั้น
๔) ปิตปฺปเสวนํ ดื่มน้ำเมาหรือเสพสารเสพติดนั้นเข้าไป
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๑ ฆ่าสัตว์>>อายุสั้น
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๒ ลักทรัพย์>>ทรัพย์สมบัติพินาศ
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม>>ครอบครัวแตกแยก
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๔ โกหก>>โรคภายในช่องปาก
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๕ ดื่มน้ำเมา>>โง่เขลา, ปัญญาอ่อน
วิธีสร้างเกราะภายในตน
“คือ การตั้งเจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายและวาจา”
๑. งดเว้นโดยไม่ตั้งใจไว้ก่อน
๒. งดเว้นโดยตั้งใจและปฏิญาณไว้ก่อน
- ทาน (ทานํ) หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
- ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
- บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
- ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
- ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
- ความเพียร (ตปํ) คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
- ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) คือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็นเช่นทำร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
- ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
- ความอดทน (ขันติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
- ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น