สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ลิเวอร์พูลครองแชมป์ดิวิชั่น 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ก่อตั้งใน วันที่ 15 มีนาคม ปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14 มีฉายาในภาษาไทยว่า "หงส์แดง" พร้อมด้วยคำขวัญ "You'll Never Walk Alone"สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดชองประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65)และคว้าแชมป์ดิวิชั้น1อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้นบิลล์ แชงก์คลีขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี่
สโมสรต้องประสบกับความซบเซาในช่วงหนึ่งหลังจากได้แชมป์ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2533 คือได้เพียงเอฟเอคัพ 1 ใบ ปี พ.ศ. 2535 กับลีกคัพ 1ใบในปี พ.ศ. 2538 แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์บอลถ้วยทั้งในระดับประเทศและระดับทวีปถึง 3 แชมป์ (คาร์ลิ่ง ลีกคัพ,เอฟเอคัพ รวมทั้งยูฟ่าคัพ) ได้ในปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2000/01) ในปี 2544 นี้ลิเวอร์พูลยังคว้าถ้วยยูฟ่าซูเปอร์คัพที่เอาชนะบาเยิร์น มิวนิค แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกในปีนั้น รวมทั้งเอาชนะแมนฯยูฯคู่ปรับตัวฉกาจในถ้วยแชริตี้ชิลด์ก่อนเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีกเป็นปีที่หอมหวานปีหนึ่งของกองเชียร์ลิเวอร์พูล นักเตะสำคัญยุคนั้นได้แก่ ไมเคิล โอเวน, เอมิล เฮสกี้, สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ซามี ฮูเปีย และ ยอร์น อาร์เน่ รีเซ่ เป็นต้น ทีมชุดนี้ผู้จัดการทีมคือ เชร์รา อุลลิเย่ ชาวฝรั่งเศส ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันส่งท้ายของอุลลิเย่คือ การนำทีมลิเวอร์พูลชนะแมนฯยูฯ 2-0 ในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพ พ.ศ. 2546 (ฤดูกาล 2002/03) แชมป์ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของลิเวอร์พูลคือปี 2548 ชนะในศึกยูฟ่า แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งที่ 5 ของสโมสร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตื่นตาตื่นใจครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บอลยุโรป เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตีเสนอทีมเอซี มิลาน เป็น 3 -3 ทั้งที่โดนยิงนำไปก่อนถึง 3 -0 และในที่สุดคว้าแชมป์มาได้จากการยิงจุดโทษชนะ 3-2 เป็นทีมจากอังกฤษที่ครองถ้วยยูโรเปียนคัพ (ปัจจุบันคือ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก) มากครั้งที่สุดถึง 5 สมัย ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้น อาทิ สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ชาบี อาลอนโซ, ดีทมา ฮามันน์, วลาดิเมียร์ ซมิเซอร์, เจอร์ซี่ ดูเด็ค และ เจมี คาร์ราเกอร์ คุมทัพโดย ผู้จัดการทีมสัญชาติสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ ในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2549 (ฤดูกาล 2005/06) ลิเวอร์พูลของเบนิเตซทำให้แฟนบอลต้องลุ้นอีกครั้ง ในนัดชิงเอฟเอคัพ เมื่อต้องอาศัยลูกยิงมหัศจรรย์ของ สตีเว่น เจอร์ราร์ดในช่วงทดเวลาบาดเจ็บตีเสมอทีมเวสต์แฮม ยูไนเต็ดคู่ชิงแชมป์ในปีนั้นทำให้เสมอกันที่ 3-3 ต้องตัดสินแชมป์ด้วยการยิงจุดโทษอีกครั้ง และลิเวอร์พูลก็สามารถชนะไปได้ 3-1 เป็นแชมป์สำคัญรายการล่าสุดที่ลิเวอร์พูลทำได้ แต่รายการที่แฟนบอลต้องการมากที่สุดคือแชมป์ลีกของประเทศ หรือพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน ซึ่งปีล่าสุดที่ลิเวอร์พูลคว้ามาได้คือ พ.ศ. 2533 (ฤดูกาล 1989/90) จากการคุมทีมของเคนนี ดัลกลิช ซึ่งต่อมาภายหลังดัลกลิสสามารถนำแบล็คเบิร์น โรเวอร์สคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ในปี พ.ศ. 2538 (ฤดูกาล 1994/95)
สนามปัจจุบันของสโมสรคือ แอนฟิลด์ มีความจุ 45,362 คน ในขณะเดียวกันสนามใหม่กำลังถูกวางแผนก่อสร้างในชื่อ สนามสแตนลีย์พาร์ก ความจุประมาณ 60,000 อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของและทางเอชเคเอส สำนักงานสถาปนิกอเมริกัน [2]
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] ประวัติสโมสร
จอห์น โฮลดิ้ง นักธุรกิจชาวเมืองลิเวอร์พูลได้เช่าพื้นที่บริเวณ แอนฟิลด์ โรด เพื่อใช้สร้างสนามฟุตบอล และเมื่อสร้างเสร็จได้ให้สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เช่าเป็นสนามแข่ง และเมื่อทีมเอฟเวอร์ตันได้เข้าสู่สมาชิกฟุตบอลลีก จอห์น โฮลดิ้ง พยายามจะเข้าไปบริหารงานในทีมเอฟเวอร์ตันและได้เพิ่มค่าเช่าสนามที่ทีมได้เช่าอยู่ ฝ่ายกลุ่มบริหารของเอฟเวอร์ตันจึงยกเลิกสัญญาเช่าสนาม และทีมเอฟเวอร์ตันได้ย้ายสนามไปอีกฝากของสวนสาธารณะ สแตนลี่ย์พาร์ค เพื่อไปสร้างสนามเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อสนามว่า กูดีสันพาร์ก ดังนั้น จอห์น โฮลดิ้ง จึงต้องการสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมา และ จอห์น โฮลดิ้ง จึงไปชวนเพื่อนสนิทของเขาชื่อ จอห์น แมคเคนน่า มาทำหน้าที่ประธานสโมสรและได้ตั้งชื่อทีมฟุตบอลนี้ว่า Liverpool Football Clubหลังจากที่สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งได้ไม่นาน ได้จัดการแข่งขัดนัดอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นการลงสนามนัดแรกของทีมลิเวอร์พูลกับทีมร็อตเตอร์แฮม ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมลิเวอร์พูลชนะไปด้วยผลการแข่งขัน 7-1 และลิเวอร์พูล ได้ลงแข่งขันฟุตบอลลีกของแคว้น แลงคาเชียร์ ปรากฏว่าลิเวอร์พูลลงแข่งทั้งหมด 22 นัด ชนะ 17 นัด และได้แชมป์ไปครอง ส่งผลให้ทางสโมสรสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกซึ่งได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกให้ลงเล่นในดีวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1893-1894 สโมสรจึงได้เลือกสัญลักษณ์ของทีมเป็น นกลิเวอร์เบิร์ด (Liverbird) ซึ่งเป็นนกแถบทะเลไอริช บริเวณแม่น้ำเมอร์ซี่ย์ โดยที่ปากนกคาบใบไม้ไว้ ทีมลิเวอร์พูลได้ลงทำการแข่งขันอย่างเป็นทางในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1893 โดยทีมลิเวอร์พูลออกไปเยือนทีมมิดเดิลสโบรซ์ ไอโรโนโปลิส และทีมลิเวอร์พูลสามารถได้แชมป์มาครองโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล (ทั้งหมด 28 นัด) แต่การคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ในตอนนั้นยังไม่ได้เลื่อนชั้นโดยทันที ต้องไปแข่งนัดชิงดำกับทีมอันดับสองก่อน โดยทีมอันดับสองในขณะนั้นคือ ทีมนิวตัน ฮีธ (ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในปัจจุบัน) และลงแข่งขันที่สนามของทีมแบล็คเบิร์น ซึ่งทีมลิเวอร์พูลเอาชนะทีมนิวตัน ฮีธไปด้วยผล 2-0 และได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในที่สุด
ช่วงเวลา | ชุดที่ใช้ | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
1973–85 | Umbro | ไม่มี |
1979–82 | Hitachi | |
1982–88 | Crown Paints | |
1985–96 | Adidas | |
1988–92 | Candy | |
1992–2010 | Carlsberg | |
1996–2006 | Reebok | |
2006– | Adidas | |
2010–2012 | Standard Chartered | |
2012– | Warrior |
[แก้] ชุดที่ใช้
[แก้] ผู้สนับสนุน
- 1892–1979: ไม่มีผู้สนับสนุน
- 1979–1982: Hitachi
- 1982–1988: Crown Paints
- 1988–1992: Candy
- 1992–2010: Carlsberg
- 2010–2014: Standard Chartered
[แก้] ที่มาของ The Kop
เดอะ ค็อป เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามชื่อของเนินเขาแห่งหนึ่งใน นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งคนท้องถิ่นจะรู้จักกันในนาม สปิออน ค็อป โดยเกิดเหตุการณ์การทำสงครามบัวร์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1900 อังกฤษได้ส่งทหารไปกว่า 300 นาย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูล แต่แล้วในสงครามนั้นเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นคือ อังกฤษได้เสียทหารไปเกินกว่าครึ่ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น นักข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ลิเวอร์พูลเดลี่โพสต์ ชื่อ เออร์เนสต์ เอ็ดเวิร์ตส์ จึงเสนอชื่อ สปิออน ค็อป ตามชื่อของเนินเขาลูกนั้น เป็นชื่อของอัฒจันทร์หลังประตูในการสร้างสนามใหม่ขึ้นมา เพื่อเป็นเกียรติในความกล้าหาญของทหารอังกฤษทั้ง 300 นาย ซึ่งต่อมาอัฒจันทร์แห่งนี้ได้กลายอัฒจันทร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกของฟุตบอลแห่งหนึ่ง. ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการต่อเติมอัฒจันทร์แห่งนี้ใหม่ และเมื่อใดเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลของทีมลิเวอร์พูลขึ้น คนที่ไปดูการแข่งขันของทีมบนอัฒจันทร์จะเรียกตัวเองว่า เดอะ ค็อป (The Kop) และแล้วจากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่สนามฮิลส์โบโร่ ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเกิดการถล่มของอัฒจันทร์ขึ้น ในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ กับ นอร์ทติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 96 คน จึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมด และนั่นเป็นการปิดฉากของอัฒจันทร์ สปิออน ค็อป อัฒจันทร์แบบยืนที่มีความยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีอัฒจันทร์ใหม่ขึ้นมาและใช้ชื่อว่า นิว ค็อป ซึ่งความหมายต่าง ๆ ยังคงเหมือนเดิม แม้ชื่ออัฒจันทร์จะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม นิว ค็อป ยังคงมีกลิ่นอายของประวัติเหล่านั้นอยู่เต็มเปี่ยม โดยปกติแล้วเมืองลิเวอร์พูลจะไม่ค่อยคึกคักเท่าไหร่ แต่ทว่าเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายที่รายล้อมอยู่บนทุกๆที่ไม่ว่าจะถนนสายไหน[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2011[4][แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
|
[แก้] ผู้เล่นสำรอง
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
|
[แก้] ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
|
[แก้] อดีตผู้เล่น
สำหรับรายละเอียดของอดีตผู้เล่น, ดูที่ รายชื่ออดีตผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และ หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[แก้] สต๊าฟ โค้ช
- ณ วันที่ 9 มกราคม 2011[6]
ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|
เคนนี ดัลกลิช | ผู้จัดการทีม |
แซมมี ลี | ผู้ช่วยผู้จัดการทีม |
สตีฟ คลาร์ก | โค้ช |
ไมค์ แคลลี | โค้ชผู้รักษาประตู |
จอห์น แม็คมาน | ผู้จัดการทีมสำรอง |
จอห์น อาร์ชเตอร์เบิร์ก | โค้ชผู้รักษาประตูสำรอง |
ไมค์ แม็คกลีน | ผู้ช่วยหัวหน้าแมวมอง |
ปีเตอร์ บรัคเนอร์ | หัวหน้าฝ่ายแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ซาฟ อิคบัล | แพทย์ประจำสโมสร |
ดาร์เรน เบอร์เจส | หัวหน้าฝ่ายฟิตเนส |
ฟิล โคลส์ | หัวหน้านักกายภาพบำบัด |
ร็อบ ไพรซ์ | นักกายภาพบำบัด |
แอนดรูว เนียลอน | นักกายภาพบำบัด |
แม็ตต์ คาน็อปปินสกี | นักกายภาพบำบัด |
คริส มอร์แกน | นักกายภาพบำบัด |
จอร์แดน มิลซัม | โค้ชฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย |
อลัน แม็คคอล | นักวิทยาศาสตร์การกีฬา |
อีวาน ออร์เตกา | นักบำบัดโรคทางกีฬา |
พอล สมอลล์ | หมอนวด |
เกรแฮม คาร์เตอร์ | ผู้จัดการด้านชุดแข่ง |
ลี ราดคลิฟฟ์ | ผู้ดูแลชุดแข่ง |
แบร์รี่ ดรัสต์ | ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา |
เจมส์ มอร์ตัน | ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ |
บิลลี พาร์รี | นักวิเคราะห์วิดีโอ |
อเล็ก สก็อตต์ | ผู้ช่วยวิเคราะห์การแข่งขัน |
เจมส์ มาโลน | Sports Science Graduate |
[แก้] ผู้จัดการทีม
ณ วันที่ 27 มกราคม 2011ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | การแข่งขัน | ชนะ | เสมอ | แพ้ | % ชนะ[A] | เกียรติประวัติ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วิลเลียม บาร์คเลย์ จอนห์ แม็คเคนนา | อังกฤษ ไอร์แลนด์ | 15 กุมภาพันธ์ 1892 | 16 สิงหาคม 1896 | 131 | 80 | 20 | 31 | 61.07 | 1 Lancashire League championship, 2 Division Two championships | [7][B] |
ทอม วัตสัน | อังกฤษ | 17 สิงหาคม 1896 | 6 พฤษภาคม 1915 | 742 | 329 | 141 | 272 | 44.34 | 2 Division One championships | [8] |
เดวิด แอชเวิร์ธ | อังกฤษ | 18 ธันวาคม 1919 | 12 กุมภาพันธ์ 1923 | 138 | 70 | 40 | 28 | 50.72 | 1 Division One championship | [9] |
แม็ต แม็คควีน | สกอตแลนด์ | 13 กุมภาพันธ์ 1923 | 15 กุมภาพันธ์ 1928 | 229 | 93 | 60 | 76 | 40.61 | 1 Division One championship | [10] |
จอร์จ แพ็ตเธอร์สัน | อังกฤษ | 7 มีนาคม 1928 | 6 สิงหาคม 1936 | 366 | 137 | 85 | 144 | 37.43 | [11] | |
จอร์จ เคย์ | อังกฤษ | 6 สิงหาคม 1936 | มกราคม 1951 | 357 | 142 | 93 | 122 | 39.78 | 1 Division One championship | [12] |
ดอน เวลช์ | อังกฤษ | 23 มีนาคม 1951 | 4 พฤษภาคม 1956 | 232 | 81 | 58 | 93 | 34.91 | [13] | |
ฟิล เทเลอร์ | อังกฤษ | พฤษภาคม 1956 | 17 พฤศจิกายน 1959 | 150 | 76 | 32 | 42 | 50.67 | [14][15] | |
บิลล์ แชงค์ลีย์ | สกอตแลนด์ | 1 ธันวาคม 1959 | 12 กรกฎาคม 1974 | 783 | 407 | 198 | 178 | 51.98 | 3 Division One championships, 4 Charity Shields 2 FA Cups, 1 UEFA Cup, 1 Division Two championship | [16] |
บ๊อบ เพสลีย์ | อังกฤษ | 26 สิงหาคม 1974 | 1 กรกฎาคม 1983 | 535 | 307 | 132 | 96 | 57.38 | 6 Division One championships, 5 Charity Shields, 3 Football League Cups, 3 European Cups, 1 European Super Cup, 1 UEFA Cup | [17] |
โจ เฟแกน | อังกฤษ | 1 กรกฎาคม 1983 | 28 พฤษภาคม 1985 | 131 | 70 | 37 | 24 | 53.44 | 1 Division One championship, 1 European Cup, 1 Football League Cup | [18] |
เคนนี ดัลกลิช | สกอตแลนด์ | 30 พฤษภาคม 1985 | 21 กุมภาพันธ์ 1991 | 307 | 187 | 78 | 42 | 60.91 | 3 Division One championships, 2 FA Cup, 4 Charity Shields (2 Shared) | [19] |
รอนนี โมแรน | อังกฤษ | 22 กุมภาพันธ์ 1991 | 15 เมษายน 1991 | 10 | 4 | 1 | 5 | 40.00 | [20][C] | |
แกรม ซูเนสส์ | สกอตแลนด์ | 16 เมษายน 1991 | 28 มกราคม 1994 | 157 | 65 | 47 | 45 | 41.40 | 1 FA Cup | [21] |
รอย อีแวนส์ | อังกฤษ | 31 มกราคม 1994 | 12 พฤศจิกายน 1998 | 244 | 123 | 63 | 58 | 50.41 | 1 Football League Cup | [22] |
เชราร์ อุลลิเยร์ | ฝรั่งเศส | 16 กรกฎาคม 1998 | 24 พฤษภาคม 2004 | 325 | 165 | 81 | 79 | 50.77 | 2 Football League Cups, 1 FA Cup, 1 UEFA Cup, 1 European Super Cup, 1 Charity Shield | [23][D] |
ราฟาเอล เบนิเตซ | สเปน | 16 มิถุนายน 2004 | 3 มิถุนายน 2010 | 350 | 194 | 77 | 79 | 55.43 | 1 European Cup, 1 FA Cup, 1 European Super Cup, 1 Community Shield | [24] |
รอย ฮอดจ์สัน | อังกฤษ | 1 กรกฎาคม 2010 | 8 มกราคม 2011 | 31 | 13 | 9 | 9 | 41.94 | ||
เคนนี ดัลกลิช | สกอตแลนด์ | 8 มกราคม 2011 | ปัจจุบัน | 23 | 11 | 5 | 7 | 47.83 |
[แก้] หมายเหตุ
- A^ % ชนะจะปัดเศษเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง
- B^ ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของลิเวอร์พูลได้ระบุไว้ว่า บาร์คเลย์ และ แม็คเคนนา เป็นผู้จัดการทีมร่วม โดย บาร์คเลย์ เป็น "ผู้จัดการเลขานุการ" และ แม็คเคนนา เป็น "ผู้จัดการโค้ช"
- C^ รอนนี โมแรน เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราว แหล่งข้อมูล: lfchistory.net
- D^ อุลลิเยร์ ป่วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2002, ทำให้ พิล ทอมป์สัน ได้มาเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวแทน (ลงเล่น 33 ชนะ 16 เสมอ 12 แพ้ 5) โดยสถิติของทอมป์สัน ถูกรวมอยู่ในสถิติของอุลลิเยร์แล้ว
[แก้] เกียรติประวัติ
[แก้] ภายในประเทศ
[แก้] ลีก
- Lancashire League: 1
- 1892–93
[แก้] คัพ
- เอฟเอชาริตีชิลด์ / เอฟเอคอมมิวนิตีชิลด์: 15 (10 ชนะเลิศ, 5 ร่วม)
[แก้] ยุโรป
[แก้] ชนะเลิศสองรายการและสามรายการ
- สามรายการ[note 2]
- ลีก, ลีกคัพ และ ยูโรเปียนคัพ: 1
- FA Cup, League Cup และ UEFA Cup: 1
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- liverpoolfc.tv เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของทีมลิเวอร์พูล (อังกฤษ)
- lfchistory.net รวบรวมประวัตศาสตร์ทีมลิเวอร์พูล
- Liverpool Fanpage แฟนเพจเฟชบุ๊คของแฟนลิเวอร์พูล (ไทย)
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น