วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อบรมจริยะธรรม

                                  
ประวัติ
ชื่อ พระอาจารย์ ศรศิริ   ติสรโน
อายุ 39 ปี บวชมา 19 พรรษา
ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัด สันติวัน

คติประจำใจของพระอาจารย์

      มีปัญญาอย่างท้อแท้             มีทางแก้เสมอ
      สติมาปัญญาเกิด                   สติเตลิดเกิดปัญหา

เกราะ 5 ชั้นและคุณธรรม 4 ประการ

ศีลมีกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ ศีลเป็นเกราะอัศจรรย์

ศีล 5 คื่อ ป็นปกติของมนุษย์

1. ปาณาติปาตา เวรมณี         เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ล่วงไป

2. อทินาทานา เวรมณี            เว้นขโมยเล็กขโมยน้อย

3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี            เว้นจากการประพฤติผิดในกาม



 4. มุสาวาทา เวรมณี           เว้นจากการพูดเท็จ

5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี         เว้นจากการดื่มน้ำเมา  อันเป็นสิ่งที่เราประมาท


ทำไมต้องรักษาศีล ?
ศีลข้อ ๑ เพราะ ใครๆ ก็รักชีวิตตัวเอง 
ศีลข้อ ๒ เพราะ ใครๆก็อยู่เป็นสุขได้ด้วยสมบัติของเขา
ศีลข้อ ๓ เพราะ ใครๆ  ก็รักพี่น้องพวกพ้องของเขา
ศีลข้อ ๔ เพราะ ใครๆ ก็รักความจริงใจด้วยกันทั้งนั้น
ศีลข้อ ๕ เพราะว่าเมื่อดื่มเข้าไปแล้ว จะทำลายสติของเรา
               เมื่อสติของเราเสียหายไปแล้ว ศีลข้ออื่นๆ ก็พร้อม
              ที่จะขาดไปหมด
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๑
“ เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๑)      ปาโณ               สัตว์มีชีวิต
๒)    ปาณสญฺญิตา      รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓)     วธกจิตฺตํ            มีจิตคิดจะฆ่า
๔)     อุปกฺกโม           ทำความพยายามฆ่า
๕)    เตน มรณํ            สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๒
เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๑)     ปรปริคฺคหิตํ                           ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒)    ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา               รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
๓)     เถยฺยจิตฺตํ                                มีจิตคิดจะลัก
๔)     อุปกฺกโม                                ทำความพยายามลัก
๕)    เตน หรณํ                                นำของมาได้ด้วยความพยายามนั้น   
องค์แห่งศีล ข้อที่ ๓
“ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑)     อคมนียวตฺถุ                           วัตถุที่ไม่ควรล่วงละเมิด
๒)   ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ                        มีจิตคิดจะเสพ
๓)    เสวนปฺปโยโค                        พยายามที่จะเสพ
๔)    มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ           กระทำการให้มรรคต่อมรรคจดกัน

องค์แห่งศีล ข้อที่ ๔
“ เว้นจากการพูดเท็จ
๑)      อตถํ                            เรื่องไม่จริง
๒)    วสํวาทนจิตฺตํ             จิตคิดจะพูดให้ผิด
๓)     ตชฺโช วายาโม                        พยายามพูดออกไปตามจิตนั้น
๔)     ปรสฺส ตตฺถวิชานนํ    ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น

องค์แห่งศีล ข้อที่ ๕
“ เว้นจากการดื่มน้ำเมา
๑)      มทนียํ             สิ่งที่เป็นเหตุให้มึนเมา (คือมีเหล้าเบียร์)
๒)    ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ          จิตคิดจะดื่มหรือเสพ
๓)     ตชฺโช วายาโม            พยายามดื่มหรือเสพตามที่จิตคิดนั้น
๔)     ปิตปฺปเสวนํ    ดื่มน้ำเมาหรือเสพสารเสพติดนั้นเข้าไป
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๑     ฆ่าสัตว์>>อายุสั้น
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๒    ลักทรัพย์>>ทรัพย์สมบัติพินาศ
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๓    ประพฤติผิดในกาม>>ครอบครัวแตกแยก
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๔    โกหก>>โรคภายในช่องปาก
วิบากกรรมของการผิดศีลข้อ ๕    ดื่มน้ำเมา>>โง่เขลา, ปัญญาอ่อน
วิธีสร้างเกราะภายในตน
คือ การตั้งเจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายและวาจา
๑. งดเว้นโดยไม่ตั้งใจไว้ก่อน
๒. งดเว้นโดยตั้งใจและปฏิญาณไว้ก่อน

          ทศพิธราชธรรม
  1. ทาน (ทานํ) หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
  2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
  3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
  4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
  5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
  6. ความเพียร (ตปํ) คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
  7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) คือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็นเช่นทำร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
  8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
  9. ความอดทน (ขันติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
  10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ
                                       ------------------  จบ   ------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น